โครงการประชุมวิชาการและงานสร้างสรรค์ระดับชาติ ครั้งที่ 1 : วิถีทรรศน์สถาปัตยกรรมและการออกแบบ

The 1st National Conference on Perspective of Architecture and Design Research & Creative Works  

จัดโดย สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

วันที่ 23-24 มีนาคม 2561

ความเป็นมา

การประชุมวิชาการระดับชาตินี้ จัดโดยสำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยได้ดำเนินการจัดปีนี้เป็นปีแรก ซึ่งถือเป็นภารกิจสำคัญของสถาบันอุดมศึกษาในการเผยแพร่ผลงานวิชาการ วิจัยและผลงานวิชาการของคณาจารย์ อันก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิจัย นักวิชาการ นักออกแบบ ตลอดจนนิสิตนักศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจ อันเป็นประโยชน์ในวงกว้างทางวิชาการ ตลอดจนเป็นการต่อยอดองค์ความรู้ใหม่และสร้างมาตรฐานที่ดีต่อไป รวมถึงเป็นกลไกสำคัญในการนำความรู้ไปใช้ในต่อยอดสู่การพัฒนาชุมชนและสังคม เวทีนี้ยังให้ความสำคัญกับการบูรณาการผลงานวิจัยกับการเรียนการสอนและงานบริการวิชาการ  ก่อให้ให้เกิดการเชื่อมโยงความรู้จากการวิจัยและบริการวิชาการชุมชนและสังคมกับการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ อันเป็นภารกิจสำคัญของสถาบันอุดมศึกษา โดยได้แบ่งเป็นประเด็นการนำเสนอในที่ประชุม ได้แก่

  • สถาปัตยกรรม ชุมชน และสภาพแวดล้อม  ประกอบด้วย การออกแบบสถาปัตยกรรม หรือทฤษฎีสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมภายใน สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น สถาปัตยกรรมไทยและการอนุรักษ์ ชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม  รวมถึงการเรียนการสอนทางสถาปัตยกรรม การบูรณาการการเรียนการสอนสถาปัตยกรรมกับงานวิจัยหรืองานบริการวิชาการ
  • การออกแบบอุตสาหกรรมและงานสร้างสรรค์  ประกอบด้วย การออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์และสื่อประชาสัมพันธ์ การออกแบบนิเทศศิลป์ หัตถอุตสาหกรรม จักสาน เซรามิค เฟอร์นิเจอร์ แฟชั่น เครื่องประดับ และสิ่งทอ เป็นต้น รวมถึงการเรียนการสอนทางด้านการออกแบบอุตสาหกรรม การบูรณาการการเรียนการสอนออกแบบอุตสาหกรรมกับงานวิจัยหรืองานบริการวิชาการ

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อใช้ในการนำเสนอผลงานวิชาการ งานวิจัยด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบ รวมถึงผลงานสร้างสรรค์ด้านการออกแบบอุตสาหกรรม
  2. เพื่อใช้แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น อันเป็นประโยชน์ในวิชาการและวิชาชีพด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบ
  3. เพื่อสร้างความเข้มแข็ง สร้างเครือข่ายของนักวิชาการ นักศึกษา ทั้งในระดับส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะภาคใต้ ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ได้รับความรู้จากการนำเสนอผลงานวิชาการด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบ
  2. เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ จากการบูรณาการการเรียนการสอนกับงานวิจัยและงานบริการวิชาการ
  3. เกิดความร่วมมือทางวิชาการ การวิจัย และบริการวิชาการระหว่างสถาบัน

รูปแบบการจัดการประชุม

  1. การปาฐกถาพิเศษ โดยผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการหรือวิชาชีพ ทางด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบ สาขาละ 1 ท่าน รวมจำนวน 2 ท่าน
  2. การนำเสนอผลงานทางวิชาการในรูปแบบปากเปล่า (Oral Presentation)
  3. การจัดนิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ด้านการออกแบบอุตสาหกรรม
  4. บทความที่ผ่านการพิจารณาจะรวบรวมเผยแพร่ในเล่มรายงานสืบเนื่องการประชุม (Proceeding) หรือจะคัดเลือกบทความที่มีคุณภาพเพื่อนำเผยแพร่ในวารสารทางวิชาการของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ต่อไป